เมนู

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงมีความขวนขวายน้อย ประกอบตามธรรม
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่ เราและท่านพระสารีบุตร จักช่วยกัน
ปกครองภิกษุสงฆ์ในบัดนี้.
ดีละ โมคคัลลานะ ความจริงเราหรือสารีบุตรและโมคคัลลานะเท่านั้น
พึงปกครองภิกษุสงฆ์.

ภัย 4 อย่าง


[190] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย 4 อย่างนี้ เมื่อบุคคลกำลังลงน้ำ พึงหวังได้ ภัย 4
อย่างเป็นไฉน คือ ภัยแต่คลื่น 1 ภัยแต่จระเข้ 1 ภัยแต่น้ำวน 1
ภัยแต่ปลาร้าย 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย 4 อย่างนี้แล เมื่อบุคคลกำลัง
ลงน้ำ พึงหวังได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย 4 อย่างนี้ก็ฉันนั้น เมื่อ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยนี้พึงหวังได้ ภัย 4
อย่างเป็นไฉน คือ ภัยแต่คลื่น ภัยแต่จระเข้ ภัยแต่น้ำวน ภัยแต่ปลาร้าย.
[191] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยแต่คลื่นเป็นไฉน ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วย
คิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาส ครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ท่วมทับ
แล้ว ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏได้ เพื่อน
พรหมจรรย์ทั้งหลาย ย่อมตักเตือนสั่งสอนกุลบุตรนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนั้นว่า
ท่านพึงก้าวไปอย่างนี้ ท่านพึงถอยกลับอย่างนี้ ท่านพึงแลอย่างนี้ ท่านพึง

เหลียวอย่างนี้ ท่านพึงคู้เข้าอย่างนี้ ท่านพึงเหยียดออกอย่างนี้ ท่านพึงทรง
สังฆาฏิ บาตรและจีวรอย่างนี้ กุลบุตรนั้นย่อมมีความดำริอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน
เราเป็นคฤหัสถ์ ย่อมตักเตือนบ้าง สั่งสอนบ้าง ซึ่งคนอื่น ก็ภิกษุเหล่านี้
เพียงคราวบุตรคราวหลานของเรา ยังมาสำคัญการที่จะพึงตักเตือนพร่ำสอนเรา
เขาจึงบอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้นี้เรากล่าวว่า กลัว
แต่ภัยแต่คลื่น แล้วบอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่าภัยแต่
คลื่นนี้ เป็นชื่อของความคับใจด้วยสามารถความโกรธ.

[192] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยแต่จระเข้เป็นไฉน ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วย
คิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาสครอบงำเเล้ว เป็นผู้อันทุกข์ครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้ว
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏได้ เพื่อนพรหมจรรย์
ทั้งหลาย ย่อมตักเตือนสั่งสอนกุลบุตร ผู้บวชแล้วอย่างนั้นว่า สิ่งนี้ท่านควร
เคี้ยวกิน สิ่งนี้ท่านไม่ควรเคี้ยวกิน สิ่งนี้ท่านควรฉัน สิ่งนี้ท่านไม่ควรฉัน
สิ่งนี้ท่านควรลิ้ม สิ่งนี้ท่านไม่ควรลิ้ม สิ่งนี้ท่านควรดื่ม สิ่งนี้ท่านไม่ควรดื่ม
สิ่งเป็นกัปปิยะท่านควรเคี้ยวกิน สิ่งเป็นอกัปปิยะท่านไม่ควรเคี้ยวกิน สิ่งเป็น
กัปปิยะท่านควรฉัน สิ่งเป็นอกัปปิยะท่านไม่ควรฉัน สิ่งเป็นกัปปิยะท่านควร
ลิ้ม สิ่งเป็นอกัปปิยะท่านไม่ควรลิ้ม สิ่งเป็นกัปปิยะท่านควรดื่ม สิ่งเป็นอกัปปิยะ
ท่านไม่ควรดื่ม ท่านควรเคี้ยวกินในกาล ท่านไม่ควรเคี้ยวกินในวิกาล ท่าน
ควรฉันในกาล ท่านไม่ควรฉันในวิกาล ท่านควรลิ้มในกาล ท่านไม่ควรลิ้ม
ในวิกาล ท่านควรดื่มในกาล ท่านไม่ควรดื่มในวิกาล ดังนี้ กุลบุตรนั้น
ย่อมมีความดำริอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาจะเคี้ยวกินสิ่งใด
ก็เคี้ยวกินสิ่งนั้นได้ ไม่ปรารถนาจะเคี้ยวกินสิ่งใด ก็ไม่เคี้ยวกินสิ่งนั้นได้

ปรารถนาจะบริโภคสิ่งใด ก็บริโภคสิ่งนั้นได้ ไม่ปรารถนาจะบริโภคสิ่งใด ก็
ไม่บริโภคสิ่งนั้นได้ ปรารถนาจะลิ้นสิ่งใด ก็ลิ้มสิ่งนั้นได้ ไม่ปรารถนาจะลิ้ม
สิ่งใด ก็ไม่ลิ้มสิ่งนั้น ได้ ปรารถนาจะดื่มสิ่งใด ก็ดื่มสิ่งนั้นได้ ไม่ปรารถนา
จะดื่มสิ่งใด ก็ไม่ดื่มสิ่งนั้นได้ จะเคี้ยวกินสิ่งเป็นกัปปิยะก็ได้ จะเคี้ยวกินสิ่ง
เป็นอกัปปิยะก็ได้ จะบริโภคสิ่งเป็นกัปปิยะก็ได้ จะบริโภคสิ่งเป็นอกัปปิยะก็ได้
จะลิ้มสิ่งเป็นกัปปิยะก็ได้ จะลิ้มสิ่งเป็นอกัปปิยะก็ได้ จะดื่มสิ่งเป็นกัปปิยะก็ได้
จะดื่มสิ่งเป็นอกัปปิยะก็ได้ จะเคี้ยวกินในกาลก็ได้ จะเคี้ยวกินในวิกาลก็ได้
จะบริโภคในกาลก็ได้ จะบริโภคในวิกาลก็ได้ จะลิ้มในกาลก็ได้ จะลิ้มใน
วิกาลก็ได้ จะดื่มในกาลก็ได้ จะดื่มในวิกาลก็ได้ ก็คฤหบดีทั้งหลาย ผู้มีศรัทธา
ย่อมให้ของควรเคี้ยว ของควรบริโภคอันประณีตในวิกาลเวลากลางวัน อันใด
แก่เราทั้งหลาย ชะรอยภิกษุเหล่านั้น จะทำการห้ามปากในสิ่งนั้นเสีย ดังนี้
เขาจึงบอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้นี้เรากล่าวว่า กลัว
แต่ภัยแต่จระเข้ บอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่าภัยแต่
จระเข้นี้ เป็นชื่อของความเป็นผู้เห็นแก่ท้อง.

[193] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยแต่น้ำวนเป็นไฉน ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วย
คิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
ครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้ว ทำไฉน
การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏได้ เขาบวชแล้วอย่างนี้ เวลา
เช้านุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่รักษา
กาย ไม่รักษาวาจา ไม่ดำรงสติ ไม่สำรวมอินทรีย์เลย เขาเห็นคฤหบดีหรือ
บุตรคฤหบดี ผู้เอิบอิ่มพร้อมพรั่งบำเรออยู่ด้วยการคุณห้า ในบ้านหรือนิคมนั้น
เขามีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ เป็นผู้เอิบอิ่มพร้อมพรั่งบำเรอ

อยู่ด้วยกามคุณห้า สมบัติก็อยู่ในสกุล เราสามารถจะบริโภคสมบัติและทำบุญ
ได้ ดังนี้ เขาจึงบอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้นี้เรา
กล่าวว่า ผู้กลัวแต่ภัยแต่น้ำวน บอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
คำว่าภัยแต่น้ำวนนี้ เป็นชื่อแห่งกามคุณห้า.
[194] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยแต่ปลาร้ายเป็นไฉน ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วย
คิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาสครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้ว
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏได้ เขาบวชแล้วอย่าง
นี้ เวลาเช้านุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม
ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่ดำรงสติ ไม่สำรวมอินทรีย์เลย เขาย่อมเห็น
มาฉุคามผู้นุ่งผ้าไม่ดี หรือห่มผ้าไม่ดี ในบ้านหรือนิคมนั้น เพราะเหตุมาตุคาม
ผู้นุ่งผ้าไม่ดี หรือห่มผ้าไม่ดี ความกำหนัด ย่อมตามกำจัดจิตของกุลบุตรนั้น
เขามีจิตอันความกำหนัดตามกำจัดแล้ว จึงบอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย กุลบุตรผู้นี้เรากล่าวว่า กลัวแต่ภัยแต่ปลาร้าย บอกคืนสิกขาสึก
ไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่าภัยแต่ปลาร้าย นี้เป็นชื่อแห่งมาตุคาม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย 4 อย่างนี้แล เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้
ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยนี้ พึงหวังได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม
ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบจาตุมสูตรที่ 7

7. อรรถกถาจาตุมสูตร


จาตุมสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จาตุมายํ คือใกล้บ้านจาตุมา. บทว่า
ปญฺจมตฺตานิ ภิกฺขุสตานิ คือ ภิกษุบวชไม่นานประมาณ 500 รูป. นัยว่า
พระเถระทั้งสองคิดว่า กุลบุตรเหล่านี้ บวชแล้ว ไม่เคยเห็นพระทศพลเลย เรา
จักให้ภิกษุเหล่านี้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. ภิกษุเหล่านี้ฟังธรรมในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักตั้งอยู่ตามอุปนิสัยของตน. เพราะฉะนั้น พระเถระ
ทั้งสองจึงพาภิกษุเหล่านั้นมา. บทว่า สมฺโมทมานา ปราศรัยกัน คือ ภิกษุ
ทั้งหลาย กล่าวคำต้อนรับเป็นต้นว่า อาวุโส สบายดีหรือ. บทว่า เสนาสนานิ
ปญฺญาปยมานา
จัดเสนาสนะ คือ กวาดถูที่อยู่ของอาจารย์และอุปัชฌาย์ของ
ตน ๆ แล้วเปิดประตูหน้าต่าง นำ เตียงตั่งและเสื่อลำแพนเป็นต้น ออกปัด
กวาดตั้งไว้ในที่ตามลำดับ. บทว่า ปตฺตจีวรานิ ปฏิสามยมานา เก็บบาตร
และจีวร คือ คอยบอกกล่าวถึงสมณบริขารอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ ท่านจงวาง
บาตรนี้ จีวรนี้ ถาดนี้ คนโทน้ำนี้ ไม้ถือนี้. บทว่า อุจฺจาสทฺทา มหาสทฺทา
เสียงสูงเสียงดัง คือ ทำเสียงเอะอะเอ็ดตะโรเพราะขึ้นเสียงสูง เพราะแผดเสียง
ดัง. บทว่า เกวฏฺฏา มญฺเญ มจฺฉํ วิโลเปนฺติ ราวกะชาวประมงแย่ง
ปลากัน คือหมู่ชนประชุมกันในที่ที่ชาวประมงวางกระจาดใส่ปลาไว้กล่าวว่า
ท่านจงให้ปลาอื่นตัวหนึ่ง จงให้ปลาที่เชือดตัวหนึ่ง แล้วส่งเสียงเอ็ดทะโรลั่นว่า
คนนั้นท่านให้ตัวใหญ่ ทีฉันให้ตัวเล็ก ดังนี้. ท่านกล่าวดังนี้หมายถึงการที่ภิกษุ
เถียงกันนั้น. เมื่อวางตาข่ายเพื่อจะจับปลา ชาวประมงและคนอื่น ๆ ในที่นั้นส่ง
เสียงดังว่า ปลาเข้าไปแล้ว โดยปลายังไม่เข้าไป จับได้ปลาแล้ว โดยยังจับปลา